วัดนาริตะซัง โด่งดังในเรื่องการขอพร

ความมหัศจรรย์ของทริปท่องเที่ยวครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องความอัศจรรย์ใจ ของการมาขอพร ที่วัดพุทธในเมืองนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น แห่งนี้เท่านั้น แต่เป็นความทึ่งปนประหลาดใจ ที่วัดพุทธแห่งนี้ อยู่ท่ามกลางความเจริญของประเทศญี่ปุ่นมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ

นับจากทางเข้าที่มีซุ้มประตูวัดขนาดใหญ่ กว้างขวาง บรรยากาศสุดสง่างามจากโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง ที่ได้รับเลือกให้เป็นสมบัติล้ำค่าทางวัฒนธรรม

ความเป็นมาของวัดนาริตะซังชินโชจิ ประวัติศาสตร์รากฐานของวัดแห่งนี้ย้อนกลับไปยังสมัยเฮอัน (ช่วงปลายศตวรรษที่ 8) วัดแห่งนี้มีประวัติศาสตร์มายาวนานถึงกว่า 1,000 ปี

และพอถึงวันขึ้นปีใหม่ก็จะคลาคล่ำไปด้วยคนกว่าสามล้านคนที่มาสักการะขอพรปีใหม่ที่วัดแห่งนี้ทุกปีอย่างไม่ขาดสาย วัดแห่งนี้จึงมีจำนวนสาธุชนมากเป็นอันดับสองรองจากศาลเจ้าเมจิที่มีคนไปสักการบูชาเป็นจำนวนมาก

วัดนาริตะซัง หรือนาริตะซัน วัดแห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่ขึ้นชื่อของย่านนาริตะ อาณาเขตของวัดกว้างขวางเสียจนยากจะเดินให้ละเอียดด้วยระยะเวลาอันสั้น เพราะมีอะไรให้ชมเพียบ สมกับเป็นวัดประวัติศาสตร์

พื้นกรวด ขนาดธูป รูปปั้นต่างๆ ทั้งเทพ สัตว์ในนวนิยาย และสิ่งก่อสร้างตามความเชื่อ ทางหลักพระพุทธศาสนา ถึงแม้ส่วนใหญ่จะเป็นตำนานเรื่องเล่า ที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ทางหลักวิทยาศาสตร์

วัดแห่งนี้ ในวันขึ้นปีใหม่ จะมีการตีระฆัง 108 ครั้ง ซึ่งจะมีคนมาขอพรจำนวนมากก่อนที่เสียงระฆังจะสิ้นสุดลง ซึ่งมีความเชื่อว่า การขอพร ณ วัดแห่งนี้ ไม่ว่าเรื่องเรียน เรื่องงาน เรื่องความรัก เรื่องโชคลาภ เรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย ฯลฯ ประสบความสำเร็จดั่งใจมุ่งมาดปรารถนา

ความเชื่อว่าวัดแห่งนี้ จะปัดเป่าสิ่งเลวร้ายได้ เพียงเดินเข้าประตูทางเข้าใหญ่ๆ ที่มีชื่อว่า โซมง ยังสร้างขึ้นในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 1,070 ปีหลังจากก่อตั้งวัด แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ และยังมีรูปปั้น รูปแกะสลักเทพผู้คุ้มครองวัดอีกมากมาย

และประตูซ้อนด้านใน ทางเข้าวัดที่สองมีชื่อเรียกว่า นิโอมง ประตูบานนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสมบัติล้ำค่าทางวัฒนธรรม ชื่อ นิโอ นี้มีความหมายถึงเทพเจ้าสององค์ที่คอยปกปักษ์รักษาสถานที่แห่งนี้ โดยจะยืนอยู่ขนานกับด้านข้างของประตู

วัดนาริตะซังอันมีประวัติและธรรมเนียมสืบทอดมายาวนาน ใกล้สนามบินนาริตะเพียง 10 นาที วัดพุทธแห่งนี้มีบรรยากาศเคร่งขรึมซึ่งผิดกับรูปลักษณ์ที่ทันสมัยของสนามบินนานาชาตินาริตะ อยู่ท่ามกลางความเจริญโดยไม่เปลี่ยนแปลง

หลังจากขึ้นบันไดที่อยู่เบื้องหลังประตูนิโอมงไปแล้ว จะพบกับโบสถ์หลักเรียกว่า ไดฮุนโด เป็นจุดที่ผู้คนจำนวนมาก มาเพื่อสวดมนต์อธิษฐาน แต่ก่อนจะขึ้นไป ก็จะเห็นบ่อน้ำมันที่ต้องตักราดมือซ้าย มือขวา บ้วนปาก และล้างก้านกระบอกตักน้ำมนต์ที่จับเป็นขั้นตอนสุดท้าย

จากนั้นก่อนจะถึงตัวโบสถ์จริงๆ ก็จะมีกระถางธูปที่ให้ได้ไปจุดธูปสักการะสถานที่แห่งนี้ ซึ่งธูปจะมีรูปร่างแปลกจากเมืองไทย และผู้คนมักจะกวักเอาควันธูปเข้าหาตัว และมีความเชื่อว่าขจัดปัดเป่าโรคร้ายได้

โบสถ์ที่วัดแห่งนี้มีสามโบสถ์ คือ โบสถ์ ชะกะโด ซึ่งเคยเป็นโบสถ์หลักมาก่อน ต่อมาได้มีการสร้างโบสถ์ไดฮุนโดที่เป็นโบสถ์หลักในปัจจุบัน เมื่อเดินต่อไปตามทางหลังจากเจอโบสถ์ ชะกะโดแล้วก็จะมาถึงโคเมียวโด อันเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในพื้นที่วัดนี้ และเคยรับหน้าที่เป็นโบสถ์หลักมาก่อน

สวนนาริตะซังที่ช่วยให้จิตใจปลอดโปร่งเพียงลงมาข้างล่างจากตรงบริเวณหอคอย จะพบกับสวนธรรมชาติ ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง

วัดแห่งนี้ ถือเป็นประตูด่านแรกที่ศักสิทธิ์ของเมืองนาริตะ และใกล้สนามบินนานาชาตินาริตะมากๆ ภายในวัดยังมีวิหารและเจดีย์แดงสามชั้นที่สวยสง่างาม สร้างมาตั้งแต่ปี 940 ซึ่งรวมๆแล้วถือว่าอยู่มายาวนานเกินพันปี

ตัววัดมีพื้นที่กว้าง เราจะพบรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของโบราณสถาน โบราณวัตถุภายในวัด ที่สำคัญ ภายในโบสถ์นั้นห้ามถ่ายภาพ นอกจากจะขออนุญาตอย่างเป็นทางการจากพระผู้ใหญ่ที่ดูแลหรือเจ้าอาวาส

ส่วนด้านในของวิหารก็จะมีห้องโถงซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าเอาไว้ทำพิธีทางศาสนา และส่วนด้านหน้าของห้องโถงก็จะมีที่ให้ขอพรโดยการโยนเหรียญ5เยนกันตามความเชื่อ นอกจากนั้นก็จะมีเซียมซีและเครื่องรางต่างๆจำหน่ายอีกด้วย

และหากไปถึงเมืองนาริตะเพื่อเยี่ยมชมวัดนาริตะซัง อย่าเผลอไปกินข้าวกล่อง เบนโตะ อาหารจานเดียว หรืออาหารอื่นๆ ซึ่งถึงแม้จะเป็นอาหารญี่ปุ่นก็ตาม เพราะจะพลาดโอกาสอันโอชะ ที่จะได้ชิมข้าวหน้าปลาไหล สูตรดั้งเดิม ของที่นี่ ซึ่งมีหลายร้านตั้งอยู่ข้างๆ วัด เนื่องจากข้าวหน้าปลาไหลที่นี่ เป็นจุดกำเนิดข้าวหน้าปลาไหลที่แพร่หลายในญี่ปุ่น

และก็เหมือนวัดปกติ ที่จะมีที่อยู่ของพระสงฆ์ ที่บ้านเราเรียกกันว่ากุฏิ มีการสวดมนต์ และทำกิจวัตรของส่ง เพียงแต่ว่าถึงแม้จะมีผู้คนมาเยี่ยมชมอย่างคราครั่ง แต่วัดแห่งนี้ก็ยังดูสงบร่มเย็นดั่งเช่นที่เคยเป็นมา

 

Related posts

Visit Us On FacebookVisit Us On TwitterVisit Us On YoutubeCheck Our Feed