เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ และโคโลราโด ผ่านการทดสอบ

เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ และโคโลราโด เป็นรถยกสูงที่มีระบบป้องกันการลื่นไถล และระบบควบคุมเสถียรภาพ จึงทำให้มีข้อได้เปรียบมากกว่ารถยนต์ขนาดเล็กทั่วไป เพราะสามารถลุยน้ำได้ที่ระดับความลึกสูงสุดถึง 800 มิลลิเมตร โดยที่ไม่สูญเสียพละกำลัง ในการขับรถให้เคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ ที่ระดับความลึกนี้ ส่วนฟังก์ชั่นการทำงานอื่นๆ อาทิ ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติและระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติจะช่วยให้ผู้ขับขี่โฟกัสอยู่กับการขับรถ และให้ความสนใจต่อสถานการณ์โดยรอบ

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่รถเอนกประสงค์ระดับพรีเมี่ยม และรถกระบะสัญชาติอเมริกันที่มีชื่อเสียงโด่งดัง จะถูกใช้งานจริงอย่างสมบุกสมบันในช่วงมรสุมนั้น ทีมวิศวกรตรวจสอบของเจนเนอรัล มอเตอร์ส จะนำรถทั้งสองรุ่นดังกล่าวเข้าทดสอบการป้องกันน้ำเข้าตัวรถแบบขั้นสุดต่างๆ หนึ่งรายการทดสอบหรือมากกว่านั้น ด้วยการฉีดน้ำแรงดันสูงรอบคัน การขับผ่านร่องน้ำท่วมขัง คุณชัชวาล จันทเขต ผู้อำนวยการทั่วไปฝ่ายวิศวกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ จีเอ็ม ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ลูกค้าของรถเอนกประสงค์และรถกระบะทั่วโลกคาดหวังที่จะเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามบนถนน ทั้งน้ำท่วม การข้ามลำธาร หรือการฝ่าพายุฝน เมื่อนึกถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญทั้งหมดที่มีอยู่ในรถยนต์ในปัจจุบัน เราจึงต้องให้ความสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าโคโลราโดและเทรลเบลเซอร์ เพื่อที่ลูกค้าจะได้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสมรรถนะของรถ แม้ต้องพบเจอกับสภาวะการขับขี่สุดขีดในรูปแบบต่างๆ”

อนึ่ง การทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่เข้าไปในตัวรถของจีเอ็มมุ่งสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานระยะยาว โดยการใช้หัวฉีดน้ำ 330 หัว ฉีดน้ำ 3,123 ลิตรต่อนาที เข้าทางด้านล่างของตัวรถ ด้านข้าง และด้านบน เพื่อทดสอบความแข็งแรงของยางขอบประตูและหน้าต่าง เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำจะไม่รั่วซึมเข้าไปสู่ห้องโดยสาร เมื่อต้องขับขี่ผ่านพายุฝนหรือสภาพพื้นถนนที่เปียกลื่นอื่นๆ การทดสอบดังกล่าวยังช่วยสร้างความมั่นใจว่า น้ำจะไม่รั่วซึมเข้าสู่ระบบระบายอากาศของเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอื่นๆ ของใต้ท้องรถ การทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่เข้าไปในตัวรถยังเป็นการจำลองการทดสอบการขับขี่ในสภาพอากาศที่มีหมอกหนา ซึ่งพบได้ในสถานที่ต่างๆ เช่น ภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากหมอกที่หนาแน่นจะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ตัวรถยนต์ได้ ในขณะที่หยดน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปได้       ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการรั่วไหล เมื่อมีน้ำซึมเข้าทางขอบยางที่มีการบีบอัดน้อยกว่า

 

 

 

Related posts

Visit Us On FacebookVisit Us On TwitterVisit Us On YoutubeCheck Our Feed